วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สังคมไทยต้องเห็นค่าการศึกษา เพื่ออนาคตของประเทศ



บทความสำหรับผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และนักการศึกษา
โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์              
      
เรื่องราวของการศึกษาในบ้านเมืองเราตอนนี้ เข้าขั้นวิกฤติแล้วครับไม่ว่าผมจะบรรยายที่ไหนจะไปเจอใคร ต่างก็มึนๆกันกับเรื่องราวของการศึกษาบ้านเรา ทั้งในมหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือแม้คนในกระทรวงศึกษาธิการเองก็ตาม  ท่านผู้บริหารการศึกษา ครูบาอาจารย์ ผู้ปกครอง รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาของเรา ต่างก็รู้สึกครับ ว่าการศึกษาบ้านเรานี่มันแปลกๆ
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ซึ่งมีหน้าที่ในการวัดผลการเรียนของนักเรียนทั้งประเทศ ประกาศคะแนนเฉลี่ยในการทดสอบของนักเรียนเราแทบทุกวิชาในแต่ละช่วงชั้นตกต่ำลงมาตลอด ในขณะที่รัฐบาลเราจ่ายเงินลงทุนด้านการศึกษาเพิ่มมาเรื่อยๆจนปีที่แล้วเราทุ่มงบประมาณ ๕ แสนล้านบาท ให้กับการศึกษา จ่ายเงิน มีงบให้มาก แต่วัดผลที่ไรก็เศร้าใจ หรือการศึกษาบ้านเรา ตกต่ำลงเรื่อยๆจริงๆ ไทยเราขอร่วมสอบ PISA ซึ่งเป็นการวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนทั้งประเทศในกลุ่มประเทศ OECD

การสอบแบบนี้ดีครับ เพราะเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจจริงๆไม่ใช่การสอบแบบท่องจำครับ เนื่องมาจากจุดประสงค์ในการทำนั้นไม่ใช่การจัดทำเพื่อการแข่งขัน แต่เขาจัดทำเพื่อวัดผลและนำผลที่ได้ไปใช้การพัฒนาการศึกษา เพื่อคนในจะได้มีความรู้ความสามารถจริง(ต่างกันกับการสอบฟิสิกส์ คณิต เคมี ชีวะ โอลิมปิก ซึ่งเป็นการสอบแข่งขันกันเป็นรายคน)
              
การสอบ PISA จัดโดยสุ่มให้นักเรียน ม.3 ทั้งประเทศของทุกประเทศที่เข้าร่วมสอบ  ผลคือ ความสามารถในการเรียนรู้ ของนักเรียนเราน้อยมากครับ  ความสามารถในทางคณิตศาสตร์ ต่ำระดับมาก ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ต่ำมากๆร่วมสอบมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกก็ต่ำเกือบที่สุดในโลก ครั้งหลังต่ำกว่าเดิม ความสามารถในการเรียนรู้ของเราอยู่ในกลุ่มท้ายๆของโลก หรือเป็นเพราะเราใช้การศึกษาภาคบังคับ คือบังคับให้เด็กเราเรียนเยอะมาก มากกว่าบรรดาชาติต่างๆในโลก


เด็กไทยเราใช้เวลาเรียนในห้องเรียน มากที่สุดในโลกนั่นอาจจะเป็นผลให้ เด็กเราเบื่อการเรียนและหยุดการเรียนรู้เมื่อคิดว่าจบการศึกษา หรือเป็นเพราะเราบังคับเขามากเกินไป ด้วยความเชื่อว่าการฝึกวินัยต้องใช้การบังคับ เราบังคับให้เขาตัดผมเกรียน ร้องเพลงชาติและใส่ชุดลูกเสือ โดยไม่เคยถามหรือสนใจความสมัครใจของเขาเลย นั่นอาจเป็นผลให้เด็กเราขาดวินัย(ในตนเอง) ขาดการฝึกวินัยที่มาจากควบคุมจิตใจของตนเอง นั่นอาจทำให้เด็กของเรา คิด น้อย เพราะเราไม่ได้ฝึกให้เขาคิด แต่ฝึกให้เขาให้เขาทำตาม
        
สถิติต่างๆด้านสังคม น่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเราทำการศึกษา ผิดวิธีมานานแล้ว เด็กไทยท้องในวัยเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย นะครับ เด็กไทยขาดการอดทนอดกลั้น มีความอยากในวัตถุมากขึ้น อดทนน้อยลง และขาดจิตสำนึกในควาเป็นไทย
          
ทุกวันนี้เราจะเห็นปัญหาสังคมมากมายที่มาจากผลของการใช้การศึกษามาเป็นเครื่องมือ ในการแข่งขัน ถึงเวลารึยังที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พ่อแม่และสังคมจีนได้บ่มเพราะฝึกฝนลูกหลานชาวจีนให้ขยัน อดทน และประหยัด เหล่านี้คือการศึกษา

วันนี้จีนกำลังจะก้าวสู้ประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งโลก แซงอเมริกา เพราะอัตราเงินออมของคนจีน สูงถึง 40 % ในขณะที่อัตราเงินออมของอเมริกัน ประมาณ 0%
           
สังคมไทยขาดความรับผิดชอบที่ควรให้การศึกษากับประชาชน เห็นได้จากการที่เรากำลังปลูกฝังให้คนใช้เงินที่ยังไม่มีอยู่ นั่นคือ บัตรเครดิต และเงินกู้ส่วนบุคคล รถยนต์คันแรก ผ่อนไอโฟน ผ่อนท่องเที่ยว ดอกเบี้ย 0% และนั่นอาจทำให้อัตราเงินออมของไทยติดลบ ด้วยนโยบาย"แจกแหลก" นี่เอง เรากำลังปลูกฝั่งให้คนของเรา"รอของแรก" แทนที่จะฝึกให้ทำมาหากิน
          
สิงคโปร์ให้การศึกษากับประชาชนด้วยการฝึกให้คนของเขาเคารพกฎหมาย คนสิงค์โปร์โดยส่วนใหญ่ จึงไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ และมาโกงภาษี ส่วนคนไทยเรามักชอบฝ่าฝืนกฎ และพยายามใช้เส้นสายเพื่อเอาเปรียบเพื่อนร่วมชาติ คุณธรรมเหล่านี้ไม่ได้รับการบ่มเพาะอย่างจริงจังให้เด็กในบ้านเรา ผู้ปกครองส่วนมากนึกว่าส่งลูกไปโรงเรียนแล้วลูกจะดีเอง โรงเรียนส่วนใหญ่ก็สนใจแต่เรื่องหลักสูตรวิชาการ ผลการสอบวัดความรู้ต่างๆ รวมทั้งผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย นี่คือ การขาดทิศทางเป้าหมายของการศึกษา


เด็กเกาหลีจะถูกปลูกฝั่งให้ค้นคว้าหาความรู่ตั้งยังเด็กมีการพาเด็กๆไปพิพิธภัณฑ์การฺตูน ห้องสมุดการ์ตูน และศูนย์การเรียนรู้ แอนนิเมชั่น นี่คือการศึกษาของเรา
          
บริษัทใหญ่ๆจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน อย่างเช่น ซัมซุงให้ความสำหรับต่อการศึกษามาก นอกจากเป็นศูนย์การเรียนรู้แล้ว บริษัทยังให้เงินจำนวนมากแก่มหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการพัฒนา
          
องค์กรเอกชนให้ความสำหรับการลงทุนด้านการศึกษา มีบริษัททำแอปพลิเคชั่นด้านการเรียนรู้ มีการพัฒนาหลักสูตรต่างๆและระบบสนับสนุนการเรียนการสอนมากมาย และสิ่งที่ตามมาคือความสำเร็จขอประเทศ คนไทยต้องให้ความสำหรับกับ"อนาคตของชาติ" มากกว่านี้ อย่าปล่อยให้การศึกษาเป็นเพียงเครื่องมือแข่งขัน
          
ผู้ปกครอง คงต้องหันมาพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิต (Life skill) ให้ลูก เพราะความสำเร็จของลูกหลานเราจะไม่ยั่งยืนถ้าขาดสิ่งที่มีค่าที่สุดคือความอดทน อดกลั้น  สังคมคงต้องหันมาปลูกฝัง คุณธรรม ให้เยาวชน ธุรกิจมอมเมา หันมาทำ พิพิธภัณฑ์เอกชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ผมดีใจที่เห็นธุรกิจดีๆช่วยสนับสนุนคุณภาพคนไทย เช่นสนามฟุตบอล สนามแบดมินตัน ทั้งเอกชนและรัฐต้องสนับสนุนกิจการเหล่านี้อย่างจริงจัง ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตรงไปตรงมา เป็นตัวอย่างเยาวชน ครูเข้าสอนตลอดเวลา ผู้รักษาเวลาที่ได้นัดหมายไว้......นี่คือการฝึกวินัย ให้เด็กๆของเรา  การมาสายจนชิน กลายเป็นวัฒนธรรมของเราไปแล้ว เพราะสังคมไม่เห็นความสำคัญ....ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่งมาสาย .......นี่คือการขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ถึงเวลารึยังครับที่เราจะเริ่มจัดโรงเรียน"เพื่อผู้เรียน" ทำห้องเรียนให้มีความสุข เลิกเอาคะแนนมาเป็นเครื่องมือบังคับให้เด็กเรียน เลิกต้อนเด็กไปทำกิจกรรมที่เขาไม่อยากทำ หันมาสร้างความรักในงาน ส่งเสริมกิจกรรมดีๆที่เขาอยากทำ ให้มีส่วนในการคิด และฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและตนเอง

เลิกการสอนแบบท่องจำ แต่มุ่งเน้นให้เขาแสวงหาความรู้ ค้นคว้าและมีความสุขกับการอ่าน การหาข้อมูล เปิดพื้นที่ให้เขาแสดงออก รับฟังและร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้น่าเรียน  การติดสินบน รับสินบน จนจะกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ ต้องโนรังเกลียด เหยียดหยาม
การก้มหัวให้อำนาจ ให้ตำแหน่งต้องหมดไป คนไทยทุกคนต้องมีศักดิ์ศรี ก้มหัวให้ความดีไม่ใช่ตำแหน่งปลอมๆ นี่คือหนึ่งใน"เป้าหมายการศึกษา"ที่สังคมต้องช่วยกัน



การฝึกให้คนของเรารักชาติ โดยบังคับให้เขาร้องเพลงชาติ คงไม่ได้ผลอะไร ถ้าอยากเห็นเด็กไทยของเราเติบโตมาเป็นคนรักชาติ เราต้องตัวเองก่อนครับ ว่าชาติ รักเราไหม สังคมนี้ทำอะไรดีๆให้เขาบ้างไหม
                 
สร้างแหล่งเรียนรู้ เช่น สนามกีฬา ลานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ให้มากกว่าศูนย์การค้าสิครับ  สื่อสารมวนชน ทีวี ดาวเทียม สัญญาณต่างๆ ป้ายโฆษณายักษ์ๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวดีๆ งานนิทรรศการ ประกวดภาพถ่าย ประกวดร้องเพลง เรื่องดีๆส่งเสริมความดี เรื่องน่าสนใจในบ้านเมืองและต่างประเทศ ต้องมีพื้นที่มากกว่านี้ รับบาลต้องช่วยถ้าจริงใจต่อการพัฒนาการศึกษา ต้องทำให้สื่อดีๆ เอาชนะสื่อที่เน้นให้เด็กของเราเป็นวัตถุนิยม

ที่มา
บทสัมภาษณ์ในปาจารยสาร

ข้อคิดของเซอร์เคน โรบินสันกับการปฏิรูปการศึกษา

 เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาชาวอังกฤษได้ปาฐกถาในรายการ TED เกี่ยวกับการให้การศึกษากับเด็กและเยาวชนและได้รับการเผยแพร่ใน youtube มีผู้ชมรวมกันกว่า 7 ล้านครั้ง เรื่องสำคัญที่ท่านเซอร์พูดตอนหนึ่งชื่อว่า “How to escape education's death valley” หรือวิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา โดยเปรียบเทียบว่าการศึกษาปัจจุบันเป็นเหมือนกับพื้นที่รกร้างไม่มีต้นไม้ใดๆ สามารถเจริญงอกงามได้ในมณฑลที่เรียกว่า หุบเขามรณะ (death valley) อย่างไรก็ดี ในปีที่พิเศษที่มีอากาศเหมาะสม มีฝนตกเพียงพอ ต้นไม้ใบหญ้าก็กลับมาเจริญงอกงามได้ ท่านเซอร์จึงได้ให้แนวทางที่จะหลุดพ้นจากหุบเขามรณะของการศึกษาไว้ดังนี้


เซอร์เคน โรบินสัน

ในบทปาฐกถาเรื่อง “วิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา” ท่านเซอร์ เคน โรบินสัน ได้พูดถึงการให้การศึกษา (education) กับเยาวชนซึ่งประกอบด้วย การสอน (teaching) และการเรียนรู้ (learning) ท่านเซอร์กล่าวว่า "การให้การศึกษาเท่ากับการทำให้เกิดการเรียนรู้" โดยหน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เพียงผู้ส่งสารที่ส่งความรู้จากหัวครูไปยังหัวสมองเด็กเท่านั้น เนื่องจากเด็กเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสัญชาตญาณในการเรียนรู้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นหน้าที่ของครูจึงต้อง เอื้อ (facilitate) ให้เกิดการเรียนรู้ กระตุ้น (provoke and stimulate) ให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้พวกเด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้ เรียกว่าจุดประกายไฟในความกระหายที่จะเรียนรู้ให้ลุกโชนให้ได้ เมื่อไฟนี้ลุกโชนแล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ได้เองและอย่างต่อเนื่องด้วย นอกจากนี้ครูยังต้องมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กมีจินตนาการ (imagination) มีความเป็นผู้นำ (leadership) มีความคิดสร้างสรรค์ (creativity) พร้อมที่จะสร้างนวัตกรรม (innovate) ใหม่ๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้นได้ ครูจึงต้องเป็นมากกว่าครู คือต้องเป็นทั้งโค้ชและพี่เลี้ยง (mentor) ไปด้วยในตัวเพื่อบ่มเพาะ (nurture) และสร้างเป้าหมายในชีวิตให้กับเด็กและเยาวชน

          จะเห็นว่าการให้การศึกษานั้น ครูมีบทบาทสำคัญมาก ท่านเซอร์บอกว่า (ผู้บริหาร) ต้องหาวิธีคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครูให้มาสอนหนังสือเด็ก อย่าคิดว่าการจ้างครูดีๆ เป็นค่าใช้จ่าย แต่ให้คิดว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต รัฐบาลต้องเข้ามาอุดหนุนให้เกิดการจ้างครูที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ (ผู้บริหาร) ต้องไม่ดึงครูไปทำงานอื่นๆ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นในห้องเรียน ครูจึงควรใช้เวลากับนักเรียนให้มากที่สุด และโรงเรียนไม่ใช่โรงงาน ไม่มีเด็กสองคนไหนที่เหมือนกันเป๊ะๆ แม้จะเป็นพี่น้องกันหรือฝาแฝดกัน ดังนั้น (ผู้บริหาร) ไม่ควรมองการศึกษาเหมือนการผลิตปลากระป๋องซึ่งสั่งได้ ควบคุมได้ แต่ควรให้หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและหลากหลายเพียงพอที่เด็กจะสามารถค้นพบตัวเองได้ เด็กเล็กควรได้เรียนศิลปะ ได้ออกกำลังกาย ได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ด้วย ข้อแนะนำสำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาคือควรหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนรู้มากกว่าที่จะวางแผนให้เด็กหรือครูก้าวเดินตามแผนที่วางไว้แบบก้าวต่อก้าว การสอบควรใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ไม่ใช่สรณะ ไม่ใช่เครื่องจำกัดโอกาสของเด็กครับ

ที่มา  http://www.vcharkarn.com/varticle/500182

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกันคือ

1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก

2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้

3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจอง ที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที

4. ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

ที่มา http://www.drpaitoon.com/modules.php?op=modload&name=Sections&file=index&req=viewarticle&artid=30&page=1

ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ “สหราชอาณาจักร”United Kingdom (UK) หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่าประเทศอังกฤษนั้น จริงๆแล้วคือ สหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยดินแดน 4 ส่วน โดยมีสามส่วนตั้งอยู่บนเกาะเกรทบริเทน (Great Britain) ได้แก่ อังกฤษ (England), สกอตแลนด์ (Scotland) และ เวลส์ (Wales) อีกส่วนหนึ่งนั้น ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ ไอร์แลนด์เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland)

รูปแบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ
ซึ่งระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ปีถึง16 ปี เด็กนักเรียนประมาณ 95% จะเรียนในโรงเรียนรัฐบาล (สำหรับผู้ปกครองที่มีฐานะดีและมีรสนิยมสูงมักส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน)
ภาคการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับในอังกฤษ เริ่มต้นภาคแรก ในราวปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคมของปีที่หนึ่ง และสิ้นสุดราวปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคมของปีถัดไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
1.ภาคต้น (Autumn Term) เริ่มปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม
2.ภาคกลาง (Spring Term) เริ่มกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคม
3.ภาคปลาย (Summer Term) เริ่มปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม

ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
- ระดับประถมศึกษา (Preparatory School)
รับนักเรียนอายุ 5-13 ปี โดยการเรียนการสอนจะเน้นให้เด็ก มีทักษะในการเขียน และทักษะด้านตัวเลข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ ความสามารถตามวัย
                - ระดับเตรียมประถมศึกษา (Pre - Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 5 -7 ปี
                - ระดับประถมศึกษา (Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 8 -13 ปี
* การศึกษาในระดับนี้จะมุ่งเน้นการเตรียมตัวเข้าสอบ Common Entrance Examination (CEE) เพื่อก้าวไปสู่การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาต่อไป
- ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School)
รับนักเรียนตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปที่สอบผ่าน CEE แล้วเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา และเรียนได้จนถึงอายุ 18 - 19 ปี รวมระยะเวลาศึกษา 5 ปี เรียกว่า year 9 - year 13 ในระดับมัธยมศึกษาทางกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ได้กำหนดให้มีการสอบวัดผลความรู้ และความสามารถ การสอบจะจัดโดยคณะกรรมาธิการอิสระซึ่งมี 5 คณะ ซึ่งผลการสอบดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในการสมัครเข้าระดับอุดมศึกษาได้ การสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1 . GCSE(General Certificate of Secondary Education
    2.1 GCE A Level(GCE Advanced) หรือที่รู้จักกันในนาม Sixth Form Colleges
    2.2 IB The International Baccalaureate (IB) Diploma
- ระดับอาชีวศึกษา (Further Education)
เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา หรือผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิ GCSE แต่ประสงค์จะมีคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ
        - Higher National Certificate/Diploma (HNC/HND)
เป็นการศึกษาในระดับสูงสุดของระดับอาชีวศึกษา หลักสูตร 2 ปี 
        - National Vocational Qualification (NVQ) 
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสายอาชีพ เป็นการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกัน แต่จะเน้นภาคปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนและมีความพร้อมก่อนที่จะ ออกไปประกอบอาชีพจริง  
- ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรมีประมาณ 96 แห่ง เป็นของรัฐบาลเกือบทั้งหมด ยกเว้น University of Buckingham ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวการศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 
- Undergraduate
BTEC HNC/HND หรือ Diploma of Higher Education (Dip. HE)
เป็นหลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่จะเปิดสอนอยู่ใน College of Higher Education โดยมหาวิทยาลัยบางแห่ง รับเปิดรับผู้สอบ "A" Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma การสมัครเข้าศึกษาต่อนั้นต้องสมัครผ่าน UCAS เช่นเดียวกับในระดับปริญญาตรี
First Degree (Bachelor Degree)
เป็นหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ยกเว้นบางสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตวแพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี)
 - Post Graduate
Post - Graduate Certificate Diploma 
หลักสูตรการศึกษา 9 เดือนถึง 1 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อ
Master Degree
หลักสูตรการศึกษา 1-2 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี
Doctoral Degree 
หลักสูตรการทำวิจัย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร M. Phil

ที่มา
http://www.kaplaninternational.com/
http://www.visionuk.net/

"ผลสอบ" วัดความสามารถ การทำงานได้จริงหรือ ?

จากเด็กจนโต จนพร้อมที่จะทำงานหาเลี้ยงตัวเองได้ ยุคนี้คงจะต้องใช้เวลาประมาณ 19 ปี คือเรียนอนุบาล 3 ปี ประถม 6 ปี มัธยม 6 ปี และอุดมศึกษาประมาณ 4 ปี ซึ่งระยะเวลาที่ผมบอกมานี้ นักเรียนทุกคนล้วนแต่อยู่ในระบบการทดสอบ โดยมี "ข้อสอบ" เป็นตัวชี้วัดหลัก (Key Performance Indicators-KPIs) ว่าจะมีความสามารถ "เลื่อนชั้น" ขึ้นไปเรียนในระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งเรา-ท่านล้วนแต่เคยผ่านระบบอย่างนี้มาทั้งสิ้น 

แถมยังเชื่อว่าถ้าใครสอบผ่านได้คะแนนสูงเมื่อเรียนจบจะไปทำงานแล้วจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำงานเก่งฯลฯ จนเกิดค่านิยมในหลายองค์กรที่เวลาจะพิจารณารับคนเข้าทำงานจะดูจากสถาบันการศึกษาที่จบมาบ้าง ดูจากเกรดเฉลี่ยบ้าง

คือถ้าผู้สมัครคนไหนจบจากสถาบันการศึกษาชื่อดัง หรือจบมาด้วยเกรดที่สูง จะพิจารณารับเข้าทำงานอย่างง่ายดาย และตั้งเงินเดือนให้สูงกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆที่ไม่ได้จบสถาบันที่บริษัทกำหนด หรือมีเกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกียรตินิยม โดยใช้ตรรกะเชื่อมโยงแบบ Halo Effect (Search คำว่า "Halo Effect กับการบริหารงานบุคคล" ในกูเกิลนะครับ ผมเคยเขียนไว้แล้ว) 

ผลคือหลายครั้งที่ความเชื่อแบบนี้เกิดการคัดเลือกคนที่ผิดพลาดเข้ามาทำงานในองค์กร !

เพราะคนเรียนเก่งสามารถสอบผ่านวิชาใด ๆ ก็ตามได้คะแนนสูง หรือจบจากสถาบันชื่อดัง ก็ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จแบบที่จะเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าจะทำงานเก่งและประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานระยะยาวไปด้วยเสมอนะซิครับแล้วอะไรเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการทำงาน ?

Competency คือคำตอบครับ...

อธิบายแบบง่าย ๆ คือ ถ้าคนคนไหนสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ (Knowledge-K) ที่มีอยู่ในตัวเอง, ใช้ทักษะ (Skills-S) ที่มีอยู่ในตัวเอง และตำแหน่งงานนั้น ๆ ต้องการคนที่มีทักษะ หรือความชำนาญในงานแบบนั้น และใช้คุณลักษณะภายใน (Attributes-A) ที่คนคนนั้นมีอยู่ในตัวเอง เช่น งานในตำแหน่งนี้ต้องการคนที่มีความละเอียดรอบคอบ, ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบสูง, ต้องการคนอดทน ฯลฯ 

เห็นไหมครับว่า K S A เหล่านี้มันจะต้องมาเรียนรู้และเพิ่มพูนเอาจากการทำงานจริงแทบทั้งหมด !

โธ่ ! ก็การทำงานไม่ใช่การท่องตำราไปเพื่อสอบให้ผ่านนี่ครับ...แต่ต้องการคนที่สามารถประยุกต์เรื่องต่าง ๆ ในงานมาสู่ภาคปฏิบัติได้จริงต่างหาก

พูดง่าย ๆ ว่าคนที่จะทำงานแล้วประสบความสำเร็จคือคนที่มี K S A ในตัวเอง และสามารถประยุกต์ใช้ K S Aที่มีอยู่ในตัวเองให้เหมาะกับงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ คนคนนั้นจะสามารถเติบโตก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในงานที่ทำนั้นได้เป็นอย่างดี และเป็นคนที่องค์กรต้องการ ซึ่งเราก็จะเรียกว่า คนคนนั้นมี "Competency" นั่นเองครับ

ส่วนผลการสอบ, เกรดเฉลี่ย, สถาบันที่จบนั้นจะใช้เพียงแค่เป็นข้อมูลในการสมัครงานตอนที่เพิ่งจบใหม่เท่านั้น เมื่อประสบการณ์ทำงานเริ่มมากขึ้นผมว่าคงไม่มีใครนำเอาเกรดเฉลี่ย, สถาบันที่จบ มาพิจารณาร่วมกับผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปขึ้นเงินเดือนหรือจ่ายโบนัสอย่างแน่นอน

การสอบวิชาต่าง ๆ นั้นจะใช้วัดผลได้ก็ตอนเรียนหนังสือเท่านั้น เพราะไม่มีอะไรจะมาวัดสัมฤทธิผลในเรื่องการเรียนได้นอกจากการสอบ

แต่เหตุใดเมื่อเข้ามาสู่โลกการทำงานองค์กรหลายแห่งจึงยังไปยึดติดกับ "การสอบ" สมัยเรียนมาคาดคะเน แถมคิดมโนไปว่า ถ้าเด็กคนไหนมีผลการทดสอบ (ไม่ว่าจะเป็นวิชาใด ๆ ขณะเรียนหนังสือ) ที่ได้คะแนนสูงแล้วจะประสบความสำเร็จในการทำงานไปด้วยละครับ ?

แถมยังไปให้เงินเดือน (ของคนที่สอบได้คะแนนสูงหรือจบจากสถาบันที่บริษัทกำหนดไว้) สูงกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ที่จบคุณวุฒิเดียวกันเสียอีก (บางแห่งเขาเรียกค่าเกียรตินิยม) ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มทำงานพิสูจน์ฝีมือในการทำงานเลยด้วยซ้ำ

องค์กรที่มีนโยบายแบบนี้จะแน่ใจได้หรือไม่ครับว่าคนที่จบเกียรตินิยม "ทุกคน" จะทำงานแล้วประสบความสำเร็จ ก้าวหน้า มี Competency เหมาะกับงานที่เขารับผิดชอบ ส่วนคนที่จบ 2.00 หรือคนที่ไม่ได้จบจากสถาบันชื่อดังจะทำงานแล้วไม่ได้เรื่องขาด Competency และไม่มีวันที่จะก้าวหน้า หรือประสบความสำเร็จ ?

ที่ผมพูดมานี้ไม่ได้แปลว่าผมแอนตี้คนที่จบเกียรตินิยมหรือจบจากสถาบันดัง ๆ นะครับ แต่เพียงแค่อยากจะแชร์ประสบการณ์และให้ข้อคิดในอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้องค์กรได้หันกลับมาคิดทบทวนอย่างมีเหตุมีผล เพื่อไม่ให้ค่านิยมที่เป็น Halo Effect มาทำให้เกิดปัญหาการจ้างและรับคนเข้าทำงานด้วยตรรกะที่ไม่ถูกต้อง และยังจะทำให้เกิดปัญหาเชิงแรงงานสัมพันธ์ตามมาในอนาคต

เพราะถ้าจบมาคะแนนสูงแล้วทำงานได้ดีจริงจะได้เงินเดือนมากกว่าคนอื่นคงไม่มีใครข้องใจ แต่จบมาคะแนนสูงแล้วทำงานสู้คนอื่นไม่ได้ แต่ดันได้เงินเดือนมากกว่าคนอื่นตั้งแต่ต้น ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้พิสูจน์ฝีมือน่ะมันมีแต่เสียกับเสียนะครับ

เสียแรกคือ บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างแบบ Overpaid คือจ่ายเงินมากในขณะที่พนักงานทำงานไม่คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป เสียที่สองคือ เสียความรู้สึกสำหรับพนักงานที่ทำงานดีแต่ไม่ได้จบมาได้เกรดสูง หรือไม่ได้จบมาจากสถาบันดัง ๆ แล้วเสียที่สามคือ ถ้าคนที่ทำงานดี (แต่ไม่ได้จบเกียรตินิยมหรือไม่ได้จบจากสถาบันชื่อดัง) รับไม่ได้ก็จะลาออกไปทำให้บริษัทเสียพนักงานที่ทำงานดีไปในที่สุด ฝากไว้เป็นข้อคิดกันดูสำหรับองค์กรที่ยังมีนโยบายทำนองนี้นะครับ

ขอบคุณที่มา ประชาชาติธุรกิจ

ประโยชน์ของการเรียนต่อต่างประเทศ!!

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา ได้แบ่งปันในสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่า ประโยชน์หลักของการเรียนต่อต่างประเทศ มีดังนี้ 

1. มีประสบการณ์ใหม่ๆจากหลากหลายวัฒนธรรม
การที่ได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ เป็นเรื่องที่ดีและเรายังสามารถเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมต่างๆได้อีกด้วย ไม่ใข่เพียงแค่วัฒธรรมในถิ่นที่อาศัยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการได้แลกเปลี่ยนความคิด และการเผยแพร่วัฒนธรรมของเราให้กับเพื่อนใหม่ได้รู้

2. พบปะเพื่อนใหม่ จากทั่วมุมโลก
สถาบันแต่ละสถาบันไม่ได้มีเพียงแค่เด็กท้องถิ่นเท่านั้น แต่จะมีรวมไปถึงผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติจากทั่วทุกมุมโลก ถ้าคุณใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้คุณจะได้รับมิตรภาพและเครือข่ายต่างๆที่ดีในอนาคต

3. มีอิสระมากขึ้น
การเรียนต่อต่างประเทศทำให้เรามีอิสระมากขึ้น อิสระในที่นี่คือ การได้ดูแลตัวเอง มีการตัดสินใจด้วยตัวเองมากขึ้น เห็นได้ชัดว่าคุณจะต้องสามารถที่จะดูแลตัวเองและเรียงลำดับจากกิจการของคุณเอง

4. เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง
การศึกษาในต่างประเทศอาจจะเปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง ไปในทางที่ดีขึ้น รวมไปถึง การเปลี่ยนแปลงในมุมมองต่างๆ รวมไปถึงมุมมองในการใช้ชีวิต

5. พร้อมสำหรับการทำงานในต่างประเทศ
การได้ไปเรียนต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเพิ่มโอกาสในการทำงานที่ต่างประเทศหลังเรียนจบ เพราะแต่ละสถาบันจะมีศูนย์บริการ การแนะแนวหางานทำหลังเรียนจบ เพื่อช่วยให้นักเรียนต่างชาติหางานทำหลังจบการศึกษา

6. พัฒนาในด้านของภาษา
สำหรับนักเรียนต่างชาติจำนวนมากที่ได้ศึกษาในต่างประเทศเป็นโอกาสดีในการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาทั้งผ่านการเรียนในห้องเรียน และ นอกห้องเรียน การฝึกพูดภาษาที่สองโดยการฝึกพูดภาษาท้องถิ่นโดยคนท้องถิ่น

7. ศึกษาในด้านเฉพาะในศูนย์กลางการศึกษาเฉพาะด้านของโลก
การศึกษาในต่างประเทศนอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้เวลาในสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นศูนย์กลางชั้นนำระดับโลกในสาขาของคุณที่น่าสนใจ ซึ่งอาจหมายถึงคุณอาจจะมีโอกาสที่จะเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงและวิทยากรและบางทีอาจจะได้รับประสบการณ์ในการทำงานที่น่าประทับใจ

8. ท่องเที่ยวได้อย่างกว้างขวาง
สุดท้ายนี้ไ การไปเรียนต่างประเทศเป็นโอกาสที่จะเดินทางไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นได้ในทั่วภูมิภาค เห็นได้ชัดว่าคุณจะไม่เพียงแค่อยู่ในรั้วของมหาวิทยาลัยหรือเมืองที่คุณกำลังศึกษาอยู่นั้น นอกจากนี้คุณยังจะมีเวลาและโอกาสที่จะสามารถเดินทางภายในและทั่วประเทศ

ที่มา  http://www.topuniversities.com

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วิธีการทำข้อสอบ

วิธีการทำข้อสอบแบบ”อัตนัย”ให้ปฏิบัติดังนี้
1. อ่านคำสั่งอย่างระมัดระวัง ให้มั่นใจว่าคำถามถามเกี่ยวกับอะไรและจะต้องตอบอย่างไร
2. กะเวลาให้ดี เพื่อที่จะทำข้อสอบได้ทันเวลา ถ้ามีเวลาเหลือเราก็ควรจะตรวจสอบคำตอบของน้องๆให้ดีจะต้องตอบคำถามละเอียดแค่ไหน โดยดูจาก
    - ให้ตอบอย่างสั้นเมื่อคำถามมีคำว่า “ระบุ” หรือ “เขียนเป็นข้อๆ” หรือ “ชื่อ…”
    - ให้ตอบอย่างยาว ถ้าคำถามถามด้วยคำว่า”อธิบาย..”หรือ”บรรยาย..”หรือ”ทำไม..”
3. ดูคะแนนที่ให้ไว้ในคำตอบของแต่ละส่วน เราจะได้ทราบคะแนนที่ผู้ตรวจให้เราในแต่ละข้อนั้น จำนวนเส้นของช่องว่างอาจจะบอกใบ้ให้รู้ว่าควรเขียนคำตอบมากเท่าใด
4. พยายามตอบคำถามให้ครบทุกคำถาม

วิธีการทำข้อสอบแบบ”ปรนัย”ให้ปฏิบัติดังนี้
1. อ่านคำสั่งอย่างละเอียด
2. ถ้าทำในกระดาษคำตอบ ควรทำเครื่องหมายตามที่คำสั่งระบุไว้อย่างเคร่งครัด และทำเครื่องหมายคำตอบให้ตรงกับข้อคำถาม
3. ควรดูตัวเลือกให้ทั่วที่จะเลือกข้อใดข้อหนึ่ง
4. ถ้าต้องเดา ควรเพิ่มโอกาสให้กับตัวเองโดยการตัดคำตอบที่ผิดออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5. ถ้าข้อไหนที่ทำไม่ได้ให้ผ่านไปคิดข้อต่อไปก่อน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา
6. หลังจากทำเสร็จ ควรตรวจดูว่าได้ตอบคำถามครบทุกข้อแล้ว



ขอบคุนที่มา  http://kbusociety.eduzones.com/th/