วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การใช้คำสั่ง JOIN

 การ JOIN คือการนำตารางที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละฟิลมาเชื่อมโยงกัน
 การ JOIN มี 2 แบบคือ
 1. INNER JOIN
 2. OUTER JOIN  |--- LEFT JOIN
    |--- RIGHT JOIN

INNER JOIN
 คือการ JOIN โดยไม่สนใจค่า NULL จะดูเพียงตัวที่เหมือนกันเท่านั้น
สมมติมีตาราง 2 อันชื่อ Ltable และ ​Rtable นำมา JOIN กันโดยมีข้อมูลที่ซ้ำกันคือ id
 -- JOIN โดยใช้ ON
 SELECT *
 FROM Ltable INNER JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;
 -- หรือ JOIN โดยใช้ USING
 SELECT *
 FROM Ltable INNER JOIN Rtable USING (id);

กรณีพิเศษที่ตัวแปรหรือชื่อ Column ซ้ำกันก็สามาใช้ NATURAL JOIN ได้ อย่างในที่นี้เรารู้ว่า id นั้นซ้ำกันเราก็ไม่ต้องใส่เงื่อนไขใดๆ แต่ใช้ Natural Join เข้ามาช่วยโดย
 SELECT *
 FROM Ltable NATURAL JOIN Rtable;

OUTER JOIN
 - LEFT JOIN

 คือการ JOIN โดยใช้ตัวทางซ้ายเป็นหลักคือ จะแสดงตัวทางซ้ายทุกตัวและนำข้อมูลขวามาเชื่อม
 SELECT *
 FROM Ltable LEFT JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;

 - RIGHT JOIN
 คือการ JOIN โดยใช้ตัวทางขวาเป็นหลักคือ จะแสดงตัวทางขวาทุกตัวและนำข้อมูลขวามาเชื่อม
 SELECT *
 FROM Ltable RIGHT JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;

นอกจากวิธีการ JOIN ยังมีวิธีที่เรียกว่า Cartesian Product ซึ่งไม่ได้อธิบายไว้ในทีนี้

รวมคำศัพท์คำสั่งที่เจอเพจนี้
CREATE  สร้างdatabase, table
INSERT  ใส่ข้อมูล
UPDATE  อัพเดตข้อมูล
SELECT  ต้องการจะดูอะไรบ้าง
FROM    จากที่ไหน
WHERE   เงื่อนไขอย่างไร
COUNT(*)  นับจำนวนของฟิลข้อมูล
GROUP BY  จัดกลุ่มข้อมูล
ORDER BY  เรียงลำดับข้อมูลโดย
JOIN    เชื่อมตาราง
DISTINCT  ตัดตัวซ้ำ
AS      ใช้คำใหม่ให้กระทัดรัดขึ้น
SET     กำหนดตัวแปร
CURDATE() วันที่ปัจจุบัน
YEAR()  ปี
MONTH() เดือน
DAY()   วัน
RIGHT() ตัดคำจากทางขวา
LEFT()  ตัดคำจากทางซ้าย
*       ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น